เมนู

8. สังโยชนสูตร



ว่าด้วยสังโยชน์ และธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสังโยชน์



[308] กรุงสาวัตถี. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดง
ธรรม เป็นที่ตั้งแห่งสังโยชน์ และสังโยชน์ เธอทั้งหลายจงฟัง. ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย ก็ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสังโยชน์ เป็นไฉน ? สังโยชน์เป็นไฉน ?
รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ชื่อว่าธรรมเป็นที่ตั้งแห่ง
สังโยชน์ ความกำหนัด ด้วยอำนาจความพอใจในรูป เวทนา สัญญา สังขาร
วิญญาณ
นั้น ชื่อว่า สังโยชน์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ธรรมเป็น
ที่ตั้งแห่งสังโยชน์ นี้เรียกว่า สังโยชน์.
จบ สังโยชนสูตรที่ 8

9. อุปาทานสูตร



ว่าด้วยอุปาทาน และธรรมเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน



[309] กรุงสาวัตถี. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดง
ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน และอุปาทาน เธอทั้งหลาย จงฟัง ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทานเป็นไฉน ? อุปาทานเป็นไฉน ?
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
ชื่อว่าธรรมเป็นที่ตั้งอุปาทาน ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ ใน
รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณนั้น ชื่อว่า อุปาทาน ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย นี้เรียกว่า ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน นี้เรียกว่า อุปาทาน.
จบ อุปาทานสูตรที่ 9

10. สีลสูตร



ว่าด้วยธรรมที่ควรใส่ใจโดยแยบคาย



[310] สมัยหนึ่งท่านพระสารีบุตร และท่านพระมหาโกฏฐิตะ
อยู่ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน กรุงพาราณสี ครั้งนั้นแล ท่านพระมหา-
โกฏิฐิตะ
ออกจากที่พักในเวลาเย็น เข้าไปหาท่านพระสารีบุตร
ถึงที่อยู่ ฯลฯ ได้ถามว่า ท่านพระสารีบุตร ภิกษุผู้มีศีล ควรกระทำ
ธรรมเหล่าไหนไว้ในใจโดยแยบคาย ?
ท่านพระสารีบุตรตอบว่า ท่านโกฏฐิตะ ภิกษุผู้มีศีล ควรกระทำ
อุปาทานขันธ์ 5 ไว้ในใจโดยแยบคาย โดยความเป็นของไม่เที่ยง
เป็นทุกข์ เป็นดังโรค เป็นดังฝี เป็นดังลูกศร เป็นความคับแค้น
เป็นอาพาธ เป็นอื่น เป็นของทรุดโทรม เป็นของสูญ เป็นอนัตตา
อุปาทานขันธ์ 5 เป็นไฉน ?
คือ อุปาทานขันธ์คือรูป 1 อุปาทานขันธ์คือเวทนา 1 อุปาทาน
ขันธ์คือสัญญา 1 อุปาทานขันธ์คือสังขาร 1 อุปาทานขันธ์คือวิญญาณ 1
ท่านโกฏฐิตะ ภิกษุผู้มีศีล ควรกระทำอุปาทานขันธ์ 5 เหล่านี้ไว้ในใจ
โดยแยบคาย โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นดังโรค เป็นดังฝี
เป็นดังลูกศร เป็นความคับแค้น เป็นอาพาธ เป็นอื่น เป็นของทรุดโทรม
เป็นของสูญ เป็นอนัตตา ท่านโกฏฐิตะ ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้คือ
ภิกษุผู้มีศีล กระทำอุปาทานขันธ์ 5 เหล่านี้ ไว้ในใจโดยแยบคาย ฯลฯ
โดยเป็นอนัตตา พึงกระทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล.
[311] โก. ดูก่อนท่านสารีบุตร ภิกษุผู้เป็นโสดาบัน ควร
กระทำธรรมเหล่าไหนไว้ในใจ โดยแยบคาย ?